---<< เว็ปที่น่าสนใจ >>---

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ข่าวสาร เรื่องน่ารู้ ข้อความดีๆ เพื่อคนรักการเรียนรู้นอกห้องเรียน



โรคปอดบวมอักเสบ จากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ !

โรคปอดบวมอักเสบจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (สุขกายสบายใจ )
ข้อมูลจาก นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ โรงพยาบาลกรุงเทพ



 หลังจากที่ได้ยินข่าวว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะกลับมาระบาดอีกรอบ
ทำให้เราอาจต้องรีบตื่นตัวอีกครั้ง เพื่อตั้งรับกับเชื้อไวรัส H5N1 หรือ H1N1

        แต่คุณรู้หรือไม่ว่ายังมีอีกโรคที่แฝงมากับเจ้าไวรัสตัวนี้ แถมยังรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
วงการแพทย์เรียกเชื้อตัวนี้ว่า "โรคปอดบวมอักเสบจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009"

         โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นภาวการณ์อักเสบที่เกิดขึ้นที่ปอด
สาเหตุสำคัญเกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ในสภาวะที่ผิดปรกติอาจจะเกิดจากเชื้อราหรือหนอนพยาธิก็ได้ เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการปอดบวมจะมีหนองและสารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ซึ่งจะทำให้ร่างกายไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปรกติ ร่างกายจะอยู่ในภาวะขาดออกซิเจนซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต

รู้ไว้ใช่ว่า...สาเหตุของโรคปอดบวมทั่วไป

         - เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือ หนอนพยาธิ โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่
ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย สามารถแพร่กระจายออกมาเวลาไอ หรือจาม

         - การสูดดมสารเคมี เช่น แอมโมเนีย ไนโตรเจนไดออกไซด์ หรือการสำลักน้ำลาย
เศษอาหาร และน้ำย่อย

         - ในภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ อาจเกิดจากเชื้อโรคที่ปกติอยู่ในลำคอ โดยเหตุชักนำสำคัญที่เกิดจากร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ภูมิต้านทานในร่างกายที่จะต่อกร
กับการอักเสบติดเชื้อลดต่ำลง เช่น สูงวัย ขาดอาหาร เบาหวาน และผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

         - พบการติดเชื้อในปอด พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้น และการอักเสบเรื้อรังในหลอดลม

การอักเสบของปอดที่เกิดจากเชื้อไวรัส

         เชื้อสำคัญ ได้แก่ ไวรัสอาร์เอสวี (RSV : Respiratory Syncytial Virus) มักเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบในเด็กเล็กไวรัสไข้อีสุกอีใส ซึ่งในเด็กอาจเกิด
อาการปอดบวมได้น้อยกว่าร้อยละ 1 แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะพบได้ถึงร้อยละ 50 โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคมะเร็ง โรคเอดส์ ซึ่งมีอาการแน่น
หน้าอก ไอเป็นเลือด แต่การตรวจร่างกายมักไม่พบความผิดปรกติแต่อย่างใด

         กรณีไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ทำให้เกิดปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
เช่น โรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสชนิดรุนแรงนั้น
จากภาพรังสีทรวงอกมักพบฝ้าขาวที่ปอด วินิจฉัยโดยการแยกเชื้อจากลำคอ วิธีนี้ โดยทั่วไปจะทำได้เฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ซึ่งอาจใช้วิธีตรวจปฏิกิริยาน้ำเหลือง
โดยการเปรียบเทียบระดับแอนติบอดี้ และ จะพบว่าระดับแอนติบอดี้ในช่วงพักฟื้นนั้น
มากกว่าในช่วงเฉียบพลันถึง 4 เท่า

         การรักษาด้วยยาต้านไวรัส อาจพิจารณาใช้ยาบางชนิด
เพื่อการรักษาปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ใช้อะแมนทาดีน
หรือโอเซลทามิเวียร์ เชื้อไข้อีสุกอีใสใช้ยาอะซัยโคลเวียร์ เชื้อไวรัส CMV
ใช้ยาแกงซัยโคลเวียร์ เป็นต้น

ระดับความรุนแรงของโรค

         - โรคปอดบวมชนิดไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบ หรือหายใจเร็ว
โดยใช้หลักเกณฑ์อัตราการหายใจ เด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน หายใจหอบคือ หายใจตั้งแต่
60 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป เด็กอายุ 2-11 เดือน หายใจหอบคือ หายใจตั้งแต่ 50 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
เด็กอายุ 1-5 ปี หายใจหอบคือ หายใจตั้งแต่ 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
เวลานับอัตราการหายใจต้องนับให้ครบ 1 นาที

         - ในขณะที่เด็กสงบ ไม่ร้องหรือดิ้น ในเด็กเล็กให้ดูการ
กระเพื่อมขึ้นลงของหน้าท้อง อาจเปิดเสื้อขึ้นดูให้ชัด ถ้าเป็นในเด็กโตกว่า 7 ขวบ
ให้ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก การเคลื่อนโป่งออกและแฟบลงเป็น 1 ครั้ง

         - โรคปอดบวมชนิดรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไอและหายใจแรงมาก จนทรวงอกส่วนล่างบริเวณลิ้นปี่ตลอดชายโครงบุ๋มเข้าขณะหายใจเข้า
จะมีหอบร่วมด้วยหรือไม่ก็ตาม แพทย์จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

         - โรคปอดบวมชนิดรุนแรงมาก เด็กจะมีเสียงหายใจผิดปกติ อาจมีเสียงฮึดเวลา
หายใจเข้าหรือเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน มีเสียงหวีดเวลาหายใจออก หรือเด็กไม่กินนมและน้ำ
ซึม ปลุกตื่นยาก หอบเหนื่อยมากจนริมฝีปากเขียว ชัก ฯลฯ แพทย์จะต้องรับไว้รักษาใน
โรงพยาบาลในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือน ถ้าเป็นปอดบวมถือว่ารุนแรงทุกราย
เด็กอาจมาด้วยอาการไข้สูง ไม่กินนมหรือน้ำ โดยอาจไม่ไอ แพทย์จะรับไว้รักษาใน
โรงพยาบาล เพราะมีอันตรายได้มาก อาการจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ
ก็แตกต่างจากในกรณีของเด็กโต ซึ่งต้องใช้ยาปฏิชีวนะแตกต่างกัน

การระบาดและติดเชื้อโรค

         เกิดจากากรหายใจเอาเชื้อโรคที่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไป หลังจากได้รับเชื้ออาจ
จะเกิดอาการใน 1-3 วัน ไอ จามรดกัน บางรายอาจได้จากการกินน้ำแก้วเดียวกัน
ใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หรือคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นปอดบวม สำลักเอาเชื้อแบคทีเรีย
ที่มีอยู่โดยปกติในจมูกและคอเข้าไป ซึ่งมักพบในเด็กที่อ่อนแอหรือไม่ก็พิการ

ลักษณะอาการ

         ผู้ป่วยจะมีไอมาก หายใจหอบ หรือหายใจลำบาก และเป็นไข้ ในเด็กโตอาจบ่นเจ็บ
หน้าอกหน้าบริเวณชายโครงด้วย อาจเริ่มเหมือนเป็นหวัดก่อน 1-2 วัน ผู้ป่วยบางราย
อาจมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูก นำมาก่อน บางรายอาจเริ่มด้วยใช้สูง หนาวสั่น
หายใจหอบเหนื่อย หรืออาจเจ็บหน้าอก บริเวณที่อักเสบและไอ
โดยในระยะแรก ๆ จะไอแห้ง ๆ แต่ต่อมาจะมีจำนวนเสมอหะเพิ่มขึ้นและเหนียว

การวินิจฉัยโรค

         มีประวัติไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเหลืองหรือสีเขียว หายใจหอบ แพทย์จะเจาะ
เลือดเพื่อนตรวจนับเม็ดเลือด นับจำนวนเม็ดเลือดขาวว่าเพิ่มขึ้นหรือไม่ จากนั้นจึงตรวจเสมหะ
โดยการย้อมสีและเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุ ซึ่งกระบวนทั้งหมดนี้ อาจใช้เวลา 3-4 วันกว่าจะทราบผล ซึ่งต้องถ่ายภาพรังสีทรวงอกประกอบการวินิจฉัยโรคด้วย

วิธีการรักษา

         - ในกรณีเด็ก ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส อาจจะไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ต้อง
กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ วัดไข้ วันละ 2-3 ครั้ง กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ห้ามซื้อยาแก้ไอรับประทานเองเด็ดขาด และคอยตรวจสีของริมฝีปากและเล็บว่ายังมีสีชมพูหรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์ทันที

         - หากสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรืออาการหนักมาก เช่นไข้สูงมาก หอบมากไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาลและตรวจเลือดเพื่อพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ
ออกซิเจน และสารน้ำทางหลอดเลือด

         - ถ้าปอดบวมไม่รุนแรง จะได้รับการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะไปกินที่บ้านซึ่งต้อง
ให้เด็กกินยาสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง และควรอ่านฉลากยาก่อนใช้ยาเสมอ
รวมทั้งกินยาให้ครบชุด 5-7 วัน

         - พิจารณาใช้ยาลดไข้เฉพาะเวลาตัวร้อนห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ส่วนอาการไอนั้นในโรคปอดบวมจะไอมากกว่าโรคหวัด ยาที่กินอาจ
เป็นยาขับเสมหะ หรือละลายเสมหะ บางครั้งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาขยาย
หลอดลมด้วย ห้ามกินยากดไม่ให้ไอหรือยาแก้แพ้ หรือยาแก้ไอสำเร็จรูปที่มีตัว
ยาตั้งแต่สามชนิดขึ้นไป เพราะแทนที่จะมีประโยชน์ กลับอาจเป็นโทษ เช่น
ทำให้เด็กไอไม่ออก เสมหะที่มีมาก อาจตกเข้าไปค้างในหลอดลมทำให้ปอดแฟบได้

         - ผู้ป่วยควรดื่มน้ำบ่อย ๆ และไม่ลดอาหารพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเด็กต้องคอยดูอาการ ถ้าอาการหนักขึ้นจะต้องพาไปพบแพทย์ใหม่หรือ 2 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นก็ต้องพาไปตรวจอีก ส่วนมากอาการจะดีขึ้นและค่อย ๆ หายในหนึ่งสัปดาห์ อาการที่ไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ได้แก่ หอบมากขึ้น หายใจต้องออกแรงมากขึ้น หรือมีอาการของภาวะป่วยหนักอื่น ๆ เช่น ซึมเศร้า
ไม่ดื่มน้ำ ชัก ซึ่งจะต้องรักษาในโรงพยาบาล

         - ในรายเป็นปอดบวมรุนแรงและรุนแรงมาก จะได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
โดยการฉีดยาปฏิชีวนะ อาจต้องให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือดในบางราย หรือต้องให้ออกซิเจน
ในรายที่หายใจเหนื่อยมาก ริมฝีปากเขียวอ่อนเพลีย และถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

โรคปอดบวม...ป้องกันได้

         หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวม โดยเฉพาะเด็กทารกถ้า
เป็นปอดบวมจะมีอันตรายมาก และหลีกเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่
ควันไฟ ควันท่อไอเสียรถยนต์ และหมอกควันในอากาศ ถ้ามีอาการสงสัยว่าจะเป็น
ปอดบวมให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อันตรายจะน้อยลง

ระวัง...โรคแทรกซ้อน

         - น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เกิดจากการอักเสบองเนื้อปอดลามออกมาถึงเยื่อหุ้มปอด
จำนวนน้ำมีได้ตั้งแต ่เล็กน้อยจนถึงขนาดมาก ถ้ามีไม่มากก็อาจหายเองได้
ในรายที่มีจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการหอบ จะต้องทำการรักษาโดยการเจาะดูดเอาน้ำออก

         - หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด ภาพถ่ายรังสีเหมือนกับมีน้ำในช่องหุ้มปอด แต่จะมีใช้สูง
และหอบเหนื่อย

         - ปอดแตกและมีลมในช่องปอด มักเกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรง
ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอก และหายใจหอบเหนื่อย

         - หัวใจวาย มักพบในรายที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว

คุณรู้หรือไม่

         ไข้หวัดนกจะกระจายไปทุกระบบของร่างกาย แต่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
จะกระจายเฉพาะ ระบบทางเดินหายใจ จึงทำให้อาการรุนแรงน้อยกว่าอย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดปิดอักเสบ
ที่อาจนำไปสู่ระบบหายใจล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตได้

        ความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หากเทียบกับ
ไข้หวัดนกนับว่าน้อยกว่า โดยพบว่ามีผู้ป่วยไข้หวัดนกเพียงร้อยละ 6 เท่านั้นที่เสียชีวิต แต่ความสามารถแพร่ระบาดขยายอย่างกว้างได้มากกว่า ขณะที่ผู้ป่วยไข้หวัด
ใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H5N1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์รุนแรงที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ
มีผู้เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 65


ที่มา : health.kapook.com

<<<<<<<<<<<<<<------------------------------------------------------------------->>>>>>>>>>>>>>>


 

Free Web Hosting